เลือกของพรีเมี่ยม ของที่ระลึกอย่างไรให้อยู่ในงบ
เทคนิคการคุมงบชื้อของที่ระลึกของพรีเมี่ยมไม่ให้บานปลาย
ทุก ๆ ครั้งที่เทศกาลสำคัญ ๆ กำลังจะมาถึง เชื่อว่าหลาย ๆ คน คงปวดหัวไม่น้อยกับการ คิดและวางแผนในการจัดซื้อของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึก สำหรับฝากคนที่คุณรัก คนในครอบครัว เพื่อ ๆ และเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะหากคุณ คือผู้ที่ต้องทำหน้าที่เป็นฝ่ายจัดซื้อของบริษัทหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง การเลือกซื้อของพรีเมียม คือปัญหาชวนปวดหัวเลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเลือกว่าจะซื้ออะไรจึงเหมาะสม ตรงกับความต้องการ แถมยังต้องคำนวนและควบคุมงบประมาณการจัดซื้อ และที่สำคัญคือ ในการซื้อของพรีเมี่ยม จะต้องอยู่ในงบ หรือไม่เกิดปัญหาการใช้เงินในการจัดซื้อเกินกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
เพราะถ้าหาก เมื่อใดก็ตามที่มีการตั้งงบประมาณไว้แล้ว และตัดสินใจเลือกของพรีเมี่ยไปแล้วว่าจะซื้ออะไร แต่เมื่อถึงเวลากลับต้องมามีปัญหาเรื่องงบบานปลายแล้วละก็ ไม่อยากจะคิดเลยว่าคุณต้องต้องหัวเสียกับปัญหา และการแก้ปัญหาที่จะตามมา ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ สำหรับปัญหาการคุมงบประมาณในการซื้อของพรีเมี่ย หรือ ของที่ระลึก หลายคนมองว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่จริง ๆ แล้ว หากคุณมีการวางแผนที่ดี ปัญหาเหล่านี้จะเบาบางลง และในวันนี้ เราได้นำเทคนิคดี ๆ ในการควบคุมงบประมาณการซื้อของพรีเมี่ย หรือ ของที่ระลึกให้งบไม่บานปลายมาแชร์ ให้กับท่านที่กำลังประสบกับปัญหานี้กัน
6 เทคนิคการจัดซื้อของพรีเมี่ยมให้อยู่ในงบ
สำหรับเทคนิค หรือวิธีการจัดซื้อของพรีเมี่ยม หรือของที่ระลึก ในกรณีที่คุณต้องทำหน้าที่ หรือมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อของพรีเมี่ยม ให้กับองค์ในวาระสำคัญ หรืองานสำคัญที่บริษัทจัดขึ้น เช่นงานสัมมนาต่าง ๆ โดยต้องควบคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ในงบ หรือไม่เกิดปัญหางบบานปลาย ที่เรานำมาแชร์ ในวันนี้ มีข้อปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้
1. คำนวนงบประมาณและจำนวนของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึก ที่จะต้องจัดซื้อ เพื่อให้สามารถคำนวนราคาสินค้าหรือของพรีเมี่ยมที่จะต้องซื้อว่าจะต้องมีราคาต่อชิ้นเท่าไหร่ เพราะการคำนวนราคาของพรีเมี่ยมกับงบประมาณในการจัดซื้อให้เหมาะสมและลงตัว จะช่วยป้องกันปัญหาการใช้งบประมาณในการจัดซื้อบานปลายได้เป็นอย่างดี
2. ลิสต์รายชื่อของพรีเมี่ยมและราคา พร้อมทั้งรายการของพรีเมี่ยมสำรองไว้ ในกรณีที่ของของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึก ที่เป็นสินค้าเป้าหมายหลักที่จะซื้อไม่สามารถจัดซื้อได้ตามแผน ไม่ว่าจะเกิดจากสาหตุใดก็ตาม เพื่อให้ทราบถึงงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดซื้อตามจำนวนที่กำหนดไว้ ก่อนยื่นเสนอขออนุมัติการจัดซื้อจากผู้มีอำนาจ โดยการทำลิสต์ของพรีเมี่ยม จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหางบบานปลาย ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการจัดซื้อที่ชาญฉลาด
3. เลือกซื้อของพรีเมียมแบบเป็นล็อตหรือเป็นแพค เพราะการเลือกซื้อแบบเป็นแพคจะทำให้คุณมีอำนาจในการต่อรองราคาได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยให่คุณประหยัดงบในการจัดซื้อได้มากขึ้นไปกว่าปกติ หรือมากกว่าการแยกซื้อของพรีเมี่ยมแบบแยกชิ้น เพราะแน่นอนว่าในการจัดซื้อของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึกให้กับองค์กรนั้น จะซื้อเป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ดังนั้น จะดีกว่ามั้ยหากว่าคุณซื้อในปริมาณมากๆ ในคราวเดียว โดยอาจซื้อในแบบเป็นแพค ซื้อเป็นโหล เพื่อให้ได้ราคาที่ดี หรือได้ส่วนลดที่มากขึ้น
4. อย่าอายที่จะตรวจสอบ หรือสอบถามถึงส่วนลดและโปรโมชั่น จากร้านค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึก หรือของพรีเมียม เพราะการตรวจสอบหรือสอบถามถึงโปรโมชั่นส่วนลด หรือแคมเปญ คือการจัดซื้อหรือช้อปปิ้งอย่างชาญฉลาด สามารถช่วยให้คุณประหยัดได้ทั้งงบประมาณในการจัดซื้อ ประหยัดเวลา และค่าเดินทางไปเลือกสินค้า เพราะปัจจุบันมีร้านขายของพรีเมี่ยมให้เลือกหลากหลาย หากได้รับส่วนลดจากโปรโมชั่น ที่ทางร้านจัดขึ้นก็ไม่จำเป็นที่คุณต้องเสียเวลาในการเดินทางไปเลือกซื้อของพรีเมี่ยมจากหลายๆ ร้าน เพื่อให้ได้ราคาที่ดีที่สุด
5. อย่าซื้อแบบเผื่อเลือก แต่ให้เลือกซื้อของพรีเมี่ยมเฉพาะที่จำเป็นหรือต้องการใช้จริง ๆ เท่านั้น เพราะการซื้อเผื่อเลือกใช้ในภายหลังจะทำให้ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหางบประมาณบานปลาย เพราะในบางครั้งที่มีการเลือกของพรีเมี่ยม ร้านค้าจะนำเสนอของที่ระลึกให้ลูกค้าเลือกซื้อหลากหลาย เพื่อจูงใจใหลูกค้าซื้อสินค้าให้มากที่สุด การซื้อไอเท็มใหม่ ๆ ที่นอกเหนือจากลิสต์จะทำให้ คุณใช้งบประมาณเยอะเกินไป อาจทำให้งบบานปลายโดยไม่รู้ตัวได้
6. อย่าเลือกซื้อของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึก ที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างกันมากเกินไป เพราะจะทำให้ได้วอรูมในการซื้อของพรีเมี่ยมในแต่รายการไม่มากพอ จะทำให้การต่อรองราคาทำได้ยากขึ้น เพราะในบางครั้งของพรีเมี่ยมบางชนิดหรือบางแบบเป็นสินค้าที่สั่งผลิต หากจำนวนในการผลิตไม่มากพอ จะทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่สูง ซึ่งจะทำให้คุณได้ส่วนลดน้อย หรือบางครั้งอาจไม่ได้ส่วนลดเลย แต่กลับได้ราคาที่สูงกว่าปกติ ซึ่งจะกระทบกับงบประมาณจัดซื้อได้
ทริคคุมงบซื้อของที่ระลึกสำหรับนักช้อป
หากคุณคือ นักช้อปตัวยงที่มีความสุขกับการซื้อของที่ระลึก ของฝาก ของพรีเมี่ยม ฝากคนที่คุณรักหรือเพื่อน ๆ และทุกครั้งที่ซื้อของที่ระลึกไม่ว่าจะซื้อที่หน้าร้าน ซื้อผ่านระบบออนไลน์ แล้วมักจะหักห้ามใจไม่ให้ซื้อของเกินความจำเป็น จนเกินงบที่มีไม่ได้ จนทำให้ต้องเดือดร้อนเงินในกระเป๋าเรามี 5 ทริคดี ๆ ในการคุมงบในการซื้อของพรีเมียมแบบงบบานปลายมาฝาก เริ่มต้นกันที่
- วางแผนก่อนซื้อ การวางแผนการช้อปปิ้งของที่ระลึก หรือ ของฝากถือเป็นเรื่องสำคัญและดีมาก ๆ โดยเฉพาะท่านที่มีความสุขกับการช้อปปิ้งของที่ระลึกด้วยความถูกใจ และในการวางแผนซื้อของพรีเมี่ยมของคุณควรมีการจดรายการของที่ต้องซื้อจะดีมาก เพราะไม่เพียงแต่เป็นการเตือนความจำ แล้วยังช่วยควบคุมงบประมาณอีกทางหนึ่ง โดยในการเลือกซื้อของพรีเมี่ยมนั้น แนะนำว่าควรเริ่มต้นซื้อของที่จำเป็นก่อน หากยังมีงบเหลือก็ค่อยมาดูลิสต์อันถัดไป
- ชำระหรือจ่ายด้วยเงินสด ในทุกวันนี้การชำระเงินมีหลากหลายช่องทาง เช่น การสแกนจ่ายเงินออนไลน์ หรือแบบตัดผ่านบัตรเครดิต แต่การเลือกใช้เงินสดในการซื้อของพรีเมี่ยม หรือ ของที่ระลึกจะช่วยให้เราบริหารเงินได้ดีกว่า เพราะการซื้อด้วยเงินสดจะช่วยให้ควบคุมงบประมาณได้ เพราะเราจะรู้ว่าเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่ เงินไม่พอจ่าย เราก็ไม่กล้าหยิบเงินออกจากกระเป๋า แต่เมื่อไหร่ที่เราใช้บัตรเครดิตจะทำให้เรารู้สึกว่ารูดจ่ายได้เลย เดี๋ยวสิ้นเดือนค่อยไปจ่าย ซึ่งนั่นจะทำให้ปัญหางบบานปลายตามมาได้
- ช้อปปิ้งช่วงเคมเปญประจำปี แนะนำให้คุณเข้าไปช้อปสินค้า หรือซื้อของพรีเมี่ยมในช่วงเคมเปญประจำปี เพราะในช่วงที่มีการจัดแคมเปญนั้นเราจะมีโอกาส ได้ของที่ระลึก หรือของพรีเมี่ยมที่ทั้งถูก ดี แถมยังมีของให้เลือกในราคาดี ๆ ซึ่งช่วยให้เราประหยัดงบได้อีกด้วย
- รู้จักการต่อรองราคา ในการซื้อของพรีเมี่ยม โดยเฉพาะเมื่อต้องซื้อของพรีเมี่ยมแบบเดียวกันหลาย ๆ ชิ้น หากไม่ต่อรองราคาขาย นั่นคือการเสียโอกาสในการที่คุณจะซื้อของได้ในราคาประหยัด เพราะในการขายของพรีเมี่ยมนั้น ร้านค้าโดยมากจะมี 2 ราคา คือ ราคาขายปลีกและราคาขายส่ง ดังนั้นเมื่อเราต้องซื้อสินค้าแบบเดียวกันหลาย ๆ สิ่งแรกที่ควรทำคือ ของราคาขายส่งจากผู้ขายซึ่งจะทำให้เราซื้อของที่ระลึกได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะช่วยให้เราคุมงบประมาณได้ดีขึ้น
นอกจาก 5 เทคนิคที่กล่าวมาแล้ว อีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่อยากฝากไว้ คือ การฝึกท่องคำว่า “เอาไว้คราวหน้าบ้าง” โดยเฉพาะเมื่อคำนวนแล้วว่าของฝาก หรือ ของพรีเมี่ยมชิ้นที่จะซื้อนั้นมีราคาเกินงบในมือของเราแล้ว เพราะหากเราพบของที่ถูกใจ แต่อยู่เหนือรายการจับจ่ายใช้สอยของเรา เราควรหักห้ามใจและบอกกับตัวเองว่าเอาไว้คราวหน้าก็ได้ยังไม่ต้องรีบ เพราะหากเราไม่รู้จักห้ามใจ ปัญหาการใช้เงินเกินงบก็จะตามมาแน่นอน
ไอเดีย ดีฟเฟอร์ เป็นบริษัทรับผลิตและนำเข้าของพรีเมี่ยมชั้นนำของไทยที่ให้บริการอย่างมีมาตรฐานพร้อมด้วยการบริการลูกค้าอย่างจริงใจ หากคุณต้องการ